เริ่มเข้ามาอยู่ในคณะตอนอายุ 14 ปี ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่ศึกจากสามเณรโดยมีเพื่อนเป็นคนชักชวน ให้เข้ามาอยู่ในคณะมาช่วยยกเวที ยกตู้ลำโพงอยู่ประมาณ 2-3 ปี ในช่วงนั้นยังไม่มีความชอบเกี่ยวกับโนรา แต่ชอบการเป็นนักร้องการเป็นแดนเซอร์จึงได้ฝึกเต้นฝึกร้องเพลงลูกวงอยู่ช่วงหนึ่งแล้วลงทุนทำเพลงชุดหนึ่ง เป็นของตัวเอง จนกระทั่งอายุประมาณ 18-19 ปี ได้ขึ้นรำโนราแบบสนุก ๆ และได้นำเทริดไปให้พ่อสมพงศ์ใส่เทริดให้ครั้งแรกที่หลังเวที หลังจากได้ขึ้นรำในคืนแรกก็เกิดชอบการรำโนราขึ้นมาจึงได้ไปเรียนบทกลอน เรียนบทครูสอน สิ่งที่ทำให้เกิดความคิดที่จะเอาจริงเอาจังในด้านการรำโนราคือเคยมีพี่คนหนึ่งได้พูดไว้ว่า “เป็นนักร้องอายุ 30-40 ปี ก็ไม่มีใครดูแล้ว แต่ถ้าเป็นโนราต่อให้อายุ 50-60 ปีก็ยังมีคุณค่ายังมีคนดูอยู่” ต่อมาได้ตัดจุกผูกผ้าครอบเทริดเป็นโนราใหญ่ตอนอายุ 21 ปี โดยพ่อสมพงศ์บ้านท่าแคเป็นครูอุปชาและและรับเป็นบุตรบุญธรรม ครูคนแรกที่สอนรำคือพ่อสมพงศ์เป็นคนที่จับมือสอนรำคนแรกและได้เริ่มเรียนเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่พ่อสมพงศ์เสียชีวิตก็ได้พาคณะไปรำไปแสดงเองอยู่ประมาณ 2-3 ปี หลังจากนั้นได้ตั้งชื่อคณะขึ้นใหม่ว่า คณะโนราโทน สมพงศ์น้อย ดาวรุ่ง เกือบจะถอดใจในการรำโนราในช่วงที่พ่อสมพงษ์เสียชีวิต แต่มีคนที่เดือนร้อนมาให้ช่วยจึงยังมีความอยากที่จะทำในด้านพิธีกรรมนี้ต่อเพื่อช่วยผู้อื่น นอกจากนี้ที่ได้สานต่อเกี่ยวกับโนราเนื่องจากลูกของพ่อสมพงศ์ไม่มีใครรำโนราเป็นเลย ลูกคนโตรับราชการครู คนที่สองเป็นนักบิน คนที่สามเป็นวิศวะ ในฐานะลูกบุญธรรมจึงรับสืบทอดแทน ซึ่งพ่อสมพงศ์ได้สืบทอดมาจากสายของครูแปลกดำท่าแค เป็นน้าชายของพ่อสมพงศ์ แต่คนที่เป็นครูคนแรกที่จับมือพ่อสมพงศ์สอนรำคือ แม่แขนอ่อนจับทรง ตั้งแต่อายุ 5-6 ขวบ


โนราโทนได้กล่าวว่าในด้านความเชื่อเกี่ยวกับโนรา คนใต้มีความเชื่อเกี่ยวกับครูหมอโนราอยู่แล้วประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ฝั่งอยู่ในสายเลือดแล้ว การที่จะแนะนำคนที่มาติดต่อจะมีการดูว่ามาติดต่อในเรื่องอะไร นอกจากจะรำโนราในด้านของศิลปวัฒนธรรมแล้วยังปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนในเรื่องการเห็นคุณค่าของครูหมอโนรา     การเป็นโนราใหญ่เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างครูหมอโนรากับลูกหลาน

เทคนิคในการจำบทกลอนคือการจดด้วยตนเอง บทกลอนที่ได้คือได้รับสืบทอดมาจากพ่อซึ่งเป็นการ      สืบทอดของแต่ละเชื้อสาย สำหรับในบทของพิธีกรรม

จุดเด่นที่ได้รับการสืบทอดเกี่ยวกับพิธีกรรม คือ การรำตั้งบ้านตั้งเมืองเป็นสายของท่าแคโดยตรงเน้นความเข้มขลัง การที่จะทำให้โนราเกิดความขลัง คือ การวางตัว การพูดการถือสัจจะ การถือศีล นอกจากนี้คือการเรียนของสายวิชานั้น ๆ

การรำโนราเพื่อความบันเทิงมีการประยุกต์โดยการนำมุกตลกต่าง ๆ มาสอดแทรก มีการใช้วงดนตรี- สมัยใหม่ มีนักร้อง มีแดนเซอร์ แต่ในสมัยนี้มีวงโนราแสดงโชว์น้อยกว่าโนราพิธีกรรมเพราะลูกหลานโนราไม่ได้สนใจครูหมอโนราแล้วไปโดนเพศโดนภัยจึงต้องไปหาโนรามาตั้งหิ้ง นอกจากนี้คือลูกหลานโนราที่เป็นผู้ชายมีการผูกผ้าตัดจุกกันเยอะในปัจจุบัน

ปัจจุบันโนราโทนประกอบอาชีพหลักในการรำโนราแบบครบวงจรททั้งหมดทั้งในด้านพิธีกรรม และการแสดงคอนเสิร์ต เช่น ตั้งหิ้ง, โนราโรงครู, รำโชว์คอนเสิร์ต และทำเทริดขายในราคาส่ง 3,000-3,500 บาท
การทำเทริดโนรา เริ่มจากการยกพานครูขอเรียนการทำเทริดกับโนราเฉลิมชัย มนวิเชียร ที่บ้านหัวโคก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงเป็นการทำเทริดแบบโบราณ แต่ได้หลังจากนำวิชามาทำเทริดเองได้มาประยุกต์เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ใช้เวลาในการทำยอดละ 2-3 วัน ทำจากไม้ทองหลาง ไม้ไผ่สาน


ที่อยู่ 137 ม.2 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง