ช่างโจหน้าพรานท่าแค หรือนายจีรวัตร นุ่นดำปัจจุบันอายุ 42 ปี ประกอบอาชีพเป็นช่างฝีมือแกะสลักหน้าพรานและเครื่องจักรสาน เริ่มทำหน้าพรานเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยแต่เดิมเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสานแล้วลืมป่วยเป็นเวลา 6 เดือน ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรได้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นได้เริ่มร้อยลูกปัดจากในคณะโนราและมีคนในคณะโนราแนะนำให้แกะหน้าพราน โดยเป็นการเริ่มจากศูนย์ และเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยเป็นการเริ่มทำตามแบบที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ช่างโจได้แกะหน้าพรานจำนวน13 หน้าพรานแรกไว้และเก็บบูชาเป็นครู หลังจากนั้นงานแรกที่รับแกะเป็นจำนวนมาก คือ หน้าพรานจำนวน 25 หน้า ช่างโจกล่าวว่าในช่วงแรกตนเองนั้นไม่ชอบงานของตนเองสักเท่าไหร่เพราะชิ้นงานที่ออกมายังไม่สวยงามเท่าที่ควร

เมื่อได้ผลิตงานฝีมือมาสักระยะช่างโจได้สังเกตถึงงานตนเองและสร้างเอกลักษณ์ของจนเอง นั่นคือ คิ้วและฟัน โดยเฉพาะหน้าพรานสีทองใช้สีขาวเขียนวาดเป็นคิ้วและฟัน ส่วนหน้าพรานสีแดงสีดำวาดเป็นคิ้วและฟัน

ตั้งแต่เริ่มผลิตหน้าพรานจนถึงปัจจุบันรวมแล้วได้ผลิตประมาณ 400-500หน้าพรานต่อปี ปัจจุบัน ช่างดจประกอบอาชีพเป็นช่างฝีมือแกะหน้าพราน 70% และประกอบอาชีพเกษตรกรทำสวน 30%

ช่างโจได้กล่าวว่าแต่ละใบหน้าของพรานนั้นจะมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้

วัสดุหลักที่ใช้ในการแกะสลักหน้าพรานใช้ไม้ขนุน โดยจะเป็นผู้ทำเองทุกระบวนการทุกขั้นตอนตั้งแต่การหาวัสดุหลักคือไม้ การขุดไม้ขนุน ตัดไม้วางแบบแกะสลัก แต่บางครั้งในการสั่งสินค้าจะมีลูกค้าบางรายที่สั่งไม้มงคลอื่นๆ เช่น ไม้ยอก็ได้แล้วแต่ตามที่ลูกค้าต้องการ หน้าพรานที่เป็นที่ยอดนิยมคือหน้าพรานสีแดง รองลงมา คือ สีทองและสีขาว ช่างโจมักจะเป็นผู้ผลิตหน้าพรานส่งให้จังหวัดพัทลุงและจังหวัดนครศรีธรรมราชมาก

ช่างโจได้กล่าวว่าในอดีตนั้นการทำหน้าพรานได้มีการผลิตแกะหน้าพรานจากการใช้เหง้าของกล้วยตานี แต่เมื่อเหง้าแห้งจะทำให้ยากต่อการแกะหน้าพราน และทำให้หน้าพรานไม่ได้รูปผิดรูปไปจากเดิม ทำให้ใช้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีการผลิตในระยะเวลาที่จำกัดซึ่งค่อนข้างยาก แต่ช่างโจเองมีความปราถนาจะค้นหาวิธีที่กลับไปใช้ภูมิปัญญาเดิมในการใช้เหง้ากล้วยตานีทำหน้าพรานเช่นเดิม

ผู้ผลิตเคยแกะหน้าพรานที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมโดยเป็นการสั่งจากโนราและนายช่าง ซึ่งลักษณะหน้าพรานดังกล่าวนั้นเป็นหน้าพรานที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนหน้าพรานทั่วๆไป โดยจะต้องมีการกำหนดลมหายใจและสมาธิตั้งจิตอธิษฐานถึงครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์หน้าพรานที่จะสร้างขึ้น จุดธูปเทียนการการเริ่มต้นกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถอธิบายลักษณะหน้าพรานดังกล่าวได้ดังต่อไปนี้
1.    โนรานิวากร ได้สั่งหน้าแม่ทาสี (หน้าพรานสีขาว) แต่ไม่ประสงค์ในการลงสีใดๆ ดังภาพ


2.    โนราประพันธ์ สั่งหน้าพรานที่มีลักษณะเป็นคนแก่หน้ายิ้มใจดี ซึ่งได้เน้นย้ำว่าให้มีลักษณะรายละเอียดที่เป็นคนแก่เฒ่าที่ชัดเจน


3.    ช่างทำเทริด สุพจน์ (สงขลา) สั่งหน้าพรานที่มีลักษณะของหน้าเสือ

สำหรับความเชื่อช่างโจกล่าวว่า หน้าพรานจะเป็นผู้ช่วยเหลือในยามทุกข์ใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ในการทำงานในครั้งต่อ ๆ ไป
ช่างโจได้แสดงความเห็นว่าในฐานะช่างงานฝีมืออยากให้มีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบทั้งมีการแสดงและทำเป็นของที่ระลึก แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้วัสดุอื่นทดแทนไม้ที่เป็นวัสดุหลักในการทำหน้าพราน

ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการผลิตหน้าพรานและการจัดจำหน่าย ตือ การตัดราคา และพ่อค้าคนกลาง


ที่อยู่ 164 ม.9 ต.ท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
เบอร์โทร 089-1465845