พื้นที่ทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมโนราอันเป็นภูมิปัญญาฐานรากของวัฒนธรรมของภาคใต้ จากโครงการวิจัย “โนรา” การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นที่ทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.)

ที่มาและความสำคัญโครงการต่อเนื่องในระยะเวลา 1 ปี การวิจัยนั้นครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดสงขลา 3 อำเภอได้แก่ อำเภอสทิงพระ อำเภอควนเนียง  และอำเภอหาดใหญ่  พื้นที่ในจังหวัดพัทลุง 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน อำเภอควนขนุน อำเภอลำปำ อำเภอควนมะพร้าว อำเภอกงหรา อำเภอนาขยาดและอำเภอเมืองพัทลุง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสร้างกลุ่มชุมชนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โนราแบบครบวงจร โดยอาศัยวัฒนธรรมภูมิปัญญาโนราอันเป็นรากฐานสำคัญของขนบการดำเนินชีวิตของผู้คนในพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นการดำรงอยู่ของต้นทุนทางวัฒนธรรมโนรานำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนุร่นใหม่ทั้งภายในชุมชนและในจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ l พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการทางวัฒนธรรมโนราด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม l พัฒนาผู้ประกอบการและนวัตกรทางด้านวัฒนธรรมโนราให้มีศักยภาพในการต่อยอดและสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรม l พัฒนาสื่อดิจิทัลและสมรรถนะ นวัตกรภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรมโนรา 

การเก็บข้อมูลสำรวจเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์และค้นคว้าข้อมูล จัดทำโดยคณะนักวิจัย โดยนักวิจัย ผศ.ดร.ปาหนัน  กฤษณรมย์  ผศ.ดร.สุรสิทธิ์  ศรีสมุทร ดร.ผกาวรรณ  บุญดิเรก อาจารย์รัชกฤต  ภาณุอัครโชค  อาจารย์พัทรา  ผดุงสุนทรารักษ์ และนส.พรศิริ สุมงคล ผู้ช่วยนักวิจัย หลังจากนั้นได้มีการเพิ่มการจัดทำระบบแผนที่ทางวัฒนธรรมโดยการจำแนกประเภทเป็นระบบต่าง ๆ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. ระบบสินค้า/การบริการ
  2. ข้อมูลวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย พิกัดข้อมูลทางวัฒนธรรม สถิติข้อมูล โดยสถิติข้อมูลได้จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่
  3. ข้อมูลผู้ใช้ระบบ

 

การสำรวจเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์แล้วนั้นโครงการได้จัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Mapping) ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดพื้นที่ในเขตพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ในการสำรวจข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการจำแนกและกำหนดพื้นที่ต่าง ๆ ว่าพื้นที่ใดในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมภูมิปัญญาโนราฐานราก มีความสำคัญเช่นไรก่อนที่จะนำประเมินแหล่งข้อมูลต่าง ๆ  

ขั้นตอนที่ 2 การประเมินคุณค่าของแหล่งข้อมูลวัฒนธรรมภูมิปัญญาโนราฐานราก  โดยแบ่งเป็นวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำระบบในการทำแผนที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย สถาปัตยกรรม โบราณสถาน พื้นที่วัฒนธรรม ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม

จากการประเมินคุณค่าของแหล่งข้อมูลทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาโนราฐานราก นั้น สามารถจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ และมีการกำหนดรหัสข้อมูล ดังต่อไปนี้

  1. AR สถาปัตยกรรม           4 แห่ง   ได้แก่ เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ โบสถ์พราหรมณ์ ฐานโยนี วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว มณฑปเก็บอัฐิขุนศรีศรัทธา วัดท่าแค วัดท่าทองหรือวัดท่าคุระ
  2. AS โบราณสถาน             1 แห่ง   ได้แก่ วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว
  3. CS พื้นที่วัฒนธรรม           3 แห่ง   ได้แก่ วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว วัดท่าแค วัดท่าคุระ
  4. PA ศิลปะการแสดง           18 แห่ง ได้แก่ นายบุญทิพย์ สุริยะจันทร์ นายทิวา ศรีไหม นายวรากร บุษบง นายสมพงษ์ ชนะบาล โนราถวิล สายพิณ จำปาทอง โนราสำเนา เสน่ห์ศิลป์ โนราอรุณ ศ.เอิบอวบศิลป์     นายทนุธรรม เพชรพงษ์ นางเทวี ดำเกศ นายเจิมรัตนคีรี นายเวียน นวลขาว นายประมวล ขุมกาฬา นายชัชวาล เพชรมณี นายภิญโญ แก้วแจ้ง นางอ้อม สงแทน นายวิชา ศุกขศรีสอาด นายสันติภาพ ทองเทพ
  5. TC งานช่างฝีมือดั้งเดิม      13 แห่ง ได้แก่ นายปรีชา หนูคง นายจุรงค์ จันทระ  นายทิวา ศรีไหม     นายธนภัทร  เรืองโฉม  นายชนินทร์ ก๋งทั่น นางสมจิต กล้าคง นางเทวี ดำเกศ นายพิทักษ์ ดำเกศ นายสันติภาพ  ทองเทพ นางสมจิตร กล้าคง นายชัชวาลย์ เพชรมณี นายบุญวัน เกลี้ยงเกื้อ นายนายจีรวัตร นุ่นดำ