โนราภิญโญ สองหิ้ง คำว่า “หิ้ง” ในที่นี้หมายถึง สถานที่ที่เราบูชานับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นครูของศิลปินหนังตะลุงและโนรา และเนื่องจากที่บ้านนับถือทั้งหนังตะลุงและโนราจึงเป็นที่มาของคำว่า “สองหิ้ง”- เข้าเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ พัทลุง เริ่มแรกคือเรียนหนังตะลุงกับ อำเภอจรูญน้อย หัวไทร ซึ่งได้ข้อคิดมาหนึ่งอย่างว่า การที่จะเล่นหนังตะลุงหรือรำโนราได้ดีนั้นต้องเข้าใจจังหวะท่วงทำนองของดนตรีเสียก่อน จึงได้ฝึกเป่าปี่ในวงหนังตะลุง ต่อมาได้มีโอกาสไปเป่าปี่ออกงานให้กับทั้งหนังตะลุงและโรงโนราจึงได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ในด้านพิธีกรรมมาด้วย จากการที่ได้แสดงออกงานกับคณะโนราทำให้เกิดความสนิทสนมกับโนราหลาย ๆ ท่าน และสามารถว่ากลอนว่าบทได้

เหตุที่ทำให้ได้มารำโนราเนื่องจากตอนที่ไปเป่าปี่ให้กับคณะโนราจิรพันธ์ จันทรา ที่ป่าพะยอม โนรที่ทาคณะหามานั้นไม่ได้มารำ จึงได้มีโอกาสขึ้นไปลองรำโนราและว่ากลอนว่าบทโนรา โดยเริ่มเข้าสู่วงการโนราตอนอายุประมาณ 20 ปี พร้อมกับตั้งคณะเป็นของตัวเอง แต่ในตอนแรกนั้นเป็นคณะที่ได้มาจากการออกพรานที่ใช้การปสดงหนังตะลุงมาผสมผสานกัน ภายใต้ชื่อคณะ “พรานภิญโญสองหิ้ง” หลังจากนั้นก็ได้บวชแล้วจึงตัดจุกผูกผ้าโดยโนราแซมเสียงทอง โนราเดชาวาทศิลป์(เป็นผู้ที่จับมือรำครั้งแรก) และโนราน้อม คงเกลี้ยง(เสียชีวิตแล้ว) ครูทั้งสามล้วนเป็นสายของโนราแปลกท่าแค  แต่ละสายโนรามีการว่าบทว่ากลอนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถ้าสายของโนรายกชูบัวจะว่าบทออกไปทางสำเนียงแขก ท่าทางในการรำก็จะเน้นความอ่อนช้อย ส่วนสายของขุนอุปถัมภ์นรากรในการว่าบทจะว่าแบบธรรมดาปกติทั่วไป ท่ารำมีความทะมัดทะแมง เข้มแข็ง แต่สายของโนราแปลกจะเน้นทางด้านพิธีกรรม ความเข้มขลัง


ที่อยู่ 254 ม.5 ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง
เบอร์โทรศัพท์ 085-8296263 / 065-9731176